EP4 : รีวิววิชาเรียนของวิศวะ(อุตสาหการ)จุฬา ปี 2 เทอม 1 ปีการศึกษา 2566

 

         สวัสดีฮะทุกคน สำหรับ Blog นี้ หลังจากผ่านปี 1 มา แล้ว ในที่สุด เราก็ได้เข้ามาเรียนในภาควิชา "อุตสาหการ" ในปี 2 ปีการศึกษา 2566 นะคับบ (เย้!!!) โดย EP4 นี้เราจะรีวิวในวิชาเรียนบังคับหลักทั้ง 6 วิชาเรียน 17 หน่วยกิต นะครับบ

     บางคนอาจมาเห็น Blog นี้ผ่านทาง Post IG เรานั่นเองนะ เพราะใน Blog นี้เราจะรีวิวละเอียดระดับเนื้อหาการเรียน การเก็บคะแนนเลย ซึ่งใน IG จะไม่ได้รีวิวขนาดนั้น เพราะนั่นแหล่ะ 555+ ( ไม่พอ TT )

❗ Caution

  • เนื่องจากรุ่นเราเป็นรุ่นรหัส 65 (65xxxxxx21) ซึ่งจะรุ่นสุดท้ายที่จะมีการใช้หลักสูตรนี้ (ปกติจะมีการเปลี่ยนแปลงหลักสูตรทุก ๆ 5 ปี โดยหลักสูตรที่เราใช้นั้น ใช้มาตั้งแต่รุ่นรหัส 61 เลย)
  • โดยวิชาที่เราจะรีวิวทั้ง 6 วิชาใน Blog นี้ จะไม่รวม GEN-ED นะ และ 3 ใน 6 วิชานี้จะไม่มีเรียนในหลักสูตรใหม่ปีถัด ๆ ไปแล้ว (อ่านเพลิน ๆ ได้เลยฮะ)
  • แต่ละการรีวิวนี้ เป็นการรีวิวในความคิดเห็นส่วนตัวของเราเองเท่านั้น อาจมีการให้มุมมองที่แง่ลบ หรือความรู้สึกที่มองผ่านวิชานั้นจริงๆ รวมไปถึงความอวยแต่ละวิชาด้วย อิ_อิ

🔍 ภาพรวมของการเรียน

    ก่อนอื่นเลย เราขอกาง Study Map รายวิชาที่เราต้องเรียนตลอด 4 ปี ไว้ตามนี้นะ

Study Map รายวิชาเรียนทั้งหมดตลอด 4 ปี
(สามารถขยายภาพได้)


    ตอนนี้เราอยู่คอลัมม์ที่ 3 (นับจากซ้าย) ซึ่งจะเรียนวิชา Diff Equations, Eng Mech I, Intro MFG SYS, Eng Stat I, App Dev IE และ Com Pres Skil รวมทั้งสิ้น 6 วิชา 17 หน่วยกิต (มีแค่ Intro MFG SYS 2 หน่วยกิต ที่เหลือ 3 หน่วยกิต) ไม่มีวิชาแลปเลย //แต่เทอมหน้าเป็นต้นไป จะเริ่มมีแลปให้เรียนแล้วนะ เย้! 


Engineering Mechanics I (Eng Mech I)
     ความยาก : 6/10
     ลักษณะการเรียน : ผสม (ให้ดูคลิปเนื้อหาใน MCV มาก่อน และทำโจทย์ในคาบ)
     การตัดเกรด : อิงกลุ่ม (F ต่ำกว่า 35 และ A ประมาณ 80)

     การเก็บคะแนน :
      

        **เกณฑ์การให้คะแนน 
                  • ผังวัตถุอิสระ และ/หรือ ผังอย่างอื่นได้ผังความเร็ว ผังความเร่ง และ แกนอ้างอิงที่เหมาะสม ถ้าไม่เขียนจะให้ศูนย์ทั้งข้อ ถ้าเขียนได้ถูกต้องจะให้ 2-3 คะแนน
                 • วิธีการถูกต้อง รวมถึงการอ้างสูตร แทนค่าได้ถูกต้อง สมการต่างๆได้ถูกต้อง มีค าอธิบายการทำงานเป็นขั้นตอน เขียนคำตอบเป็นระเบียบและอ่านง่าย จะให้ 4-5 คะแนน
                 • คำตอบ ประกอบด้วยขนาด ทิศ หน่วย และนัยสำคัญ ถูกต้องจะให้ 2-3 คะแนน โดยที่คะแนนรวมแต่ละข้อเป็น 10 คะแนน 

                 ** จะเห็นว่าคะแนนในการแสดงวิธีทำ เขียน FBD, ตั้งสมการ มีน้ำหนักรวมกันมากขึ้น 7 จาก 10 คะแนน ต่อข้อ
    
    เนื้อหาที่เรียน :
          + Midterm 
                 1. Introduction to Statics (พวกเวกเตอร์, ตรีโกณมิติ, 2D - 3D)
                 2. Force System (Force, Moment/Couple, Resultant,...)
                 3. Equilibrium ( ∑F = 0 )
                 4. Friction 
                 5. Distributed Force 
          + Final
                 6. Kinematics of Particles (แกน x-y, n-t, เชิงขั้ว, s-v-a)
                 7. Kinetics of Particles ( ∑F = ma , พลังงานจลน์ ศักย์, โมเมนตัม,.... )
                 8. Plane Kinematics of Rigid Bodies 

      หมายเหตุ: 
          1. วิชานี้จะเรียนด้วยกันทุกภาควิชา ยกเว้น ภาคคอมพิวเตอร์ และภาคเครื่องกล ที่ภาคนั้นจะเรียน Static กับ Dynamic แยกกันเลย 2 เทอม ในปี 2
          2. มิทเทอม 5 บทแรก ไฟนอล 3 บทหลัง (แต่เนื้อหาพอ ๆ กัน)
          3. ควรทำคะแนนการบ้านให้ได้เยอะ ๆ เพราะเป็นคะแนนที่ช่วยมากจริง ๆ
          4. (คำแนะนำ) ให้ดูวิธีการเขียนแสดงวิธีทำด้วย และอ่านโจทย์ดีๆ เพราะเป็นภาษาอังกฤษ

    หนังสือ Textbook แนะนำ :
        - Meriam and Kraige, Engineering Mechanics (Statics and Dynamics)
        หรือ 
        - R.C. Hibbeler, Engineering Mechanics (Statics and Dynamics)

        ** Edition ไหนก็ได้

    รีวิววิชานี้ :
        วิชานี้คือการเรียนกลศาสตร์เพียวๆ เลย โดยมีความรู้เหมือน Gen Phys I ตอนมิทเทอมเลยคับ แต่ในวิชานี้จะไม่เน้นพวกแคลคูลัสมากมายแบบ Phys I จะเน้นพวกการคำนวณโครงสร้าง แรง ฯลฯ ในเชิงของวิศวะแทนซะมากกว่า การคำนวณจะถึกขึ้น, การให้ความสำคัญกับการเขียนแสดงวิธีทำก็เพิ่มขึ้น ทั้งการแทนค่าสูตร, การเขียน Free Body Diagram ฯลฯ ตามที่บอก "เกณฑ์การให้คะแนน" ด้านบนเลย

      ใน Midterm พวกเราจะเน้นเรียนในส่วนของ Statics (สถิตย์ศาสตร์) ซึ่งสมการหลักของส่วนนี้คือ ∑F = 0 นั่นเองงง หรือสภาพที่วัตถุจะอยู่นิ่ง ไม่ก็เคลื่อนที่ด้วยความเร็วคงที่เหมือนที่เรียนใน Gen Phys I แต่จะใช้เวกเตอร์ 3 มิติ, การแก้ระบบสมการ และตัวเลข/หน่วย ที่ไปทางวิศวะมากขึ้นกว่าปี 1 นอกจากนี้ตัวโจทย์ส่วนใหญ่จะเป็นโจทย์ 3 มิติ ซึ่งก็อาศัยเวกเตอร์เช่นกันมาช่วยแก้โจทย์ และสมการหลังจากแทนค่าไปแล้ว ค่อนข้างดูซับซ้อนพอสมควร

การแจกแจงคะแนน Midterm (เต็ม 35%)

     ใน Final ก็จะไปเน้นพวก Dynamics (พลศาสตร์) ซึ่งคือส่วนที่เหลือจากกลศาสตร์ครึ่งหลัง พวก s-v-a-t, ∑F = ma, งาน - พลังงาน และโมเมนตัม (ยกเว้นเรื่อง Simple Harmonics ที่ไปอยู่ใน Diff Equa แทน 555+) โดยส่วนใหญ่จะเป็น 2 มิติ มีความยากใกล้เคียงกับตอน Gen Phys I เลย แต่ก็มีส่วนแตกต่างกันอยู่ที่บทที่ 6 จะมีการกำหนดแกนนอกเหนือจาก X-Y ที่ใช้ปกติแล้ว ยังมีการกำหนดแกนเพื่อใช้กับการเคลื่อนที่แนววิถีโค้ง (นอกจากโพรเจคไทล์ และวงกลม) อีกด้วย คือแกน n-t และแกนเชิงขั้ว (แกนเชิงขั้ว ใครที่เรียน Cal III หรือ Multivar Cal ซึ่งเป็นภาคอื่นไม่ใช่ภาคอุตสาหการ คอมพิวเตอร์ และสิ่งแวดล้อม จะได้เจาะลึกเฉพาะเลย) และบทที่ 7 ที่จะเอาการเคลื่อนที่แบบเลื่อนตำแหน่ง (Translation) กับการหมุน (Rotation) , ความเร็วสัมพัทธ์ ฯลฯ มาใช้ร่วมกันอีกด้วย


💬 COMMUNICATION AND PRESENTATION SKILLS (COM PRES SKIL)
     ความยาก : 8/10 (สำหรับคนไม่ถนัดภาษา)
     วิชาที่ต้้องผ่านมาก่อน : EXP ENG II (เรียนตอน ปี 1 เทอม 2)
     ลักษณะการเรียน : Lecture + ดูคลิปบางส่วน
     การตัดเกรด : อิงกลุ่ม

     การเก็บคะแนน :


     เนื้อหาที่เรียน :
            1. Job Application
            2. Meeting and Discussion
            3. Presentation Skills

    หมายเหตุ: 
             1. วิชานี้เป็นวิชาที่นิสิตคณะวิศวกรรมศาสตร์หลักสูตรปกติ (ภาคไทย) จะได้เรียนทุกคน และตามตาราง Study Map : รายวิชานี้เป็นตัวต่อของ TECH WRIT ENG (ปี 3 เทอม 2)
             2. Assessments ส่วนของ Job Interview, Group Meeting, Solo Presentation รวมกัน 45% นี้การให้คะแนนจะสอบกับอาจารย์ section อื่น แต่ Resume, practice x 3 รวมกัน 25% จะขึ้นกับอาจารย์ section ที่ตัวเองลงทะเบียน
            3. Practice ทั้ง 3 ครั้ง = ซ้อม ก่อนสอบจริง
            4. (คำแนะนำ) ฝึกฟัง และพูดภาษาอังกฤษให้เยอะๆ

    รีวิววิชานี้ :
             กลับมาอีกครั้งกับรายวิชาภาษาอังกฤษ (ซีรีย์ EXP ENG) T^T โดยวิชาจะให้เราเห็นภาพการนำภาษาอังกฤษไปใช้งานจริงๆ แล้ว ไม่ว่าจะทั้งการเขียน Resume, การสัมภาษณ์ (ด้วยภาษาอังกฤษ), การประชุม และการนำเสนอด้วย Powerpoint, Canva ,... etc. ซึ่งสำหรับวิชานี้จะเน้นการ "พูด" เป็นหลัก และส่วนใหญ่จะได้เรียนกับอาจารย์ชาวต่างชาติด้วย (สู้ๆ นะ)

             ถ้ามองในมุมการนำไปใช้งาน เป็นวิชาที่มีประโยชน์มากจริงๆ เพราะเราสามารถนำไปใช้งานได้จริงๆ เลย (ตอนเรายื่นฝึกงาน แม้กระทั่งตอนทำ Blog นี้ ก็ทำ Resume ลักษณะแบบนี้เหมือนกัน) 
 
               เซคที่เราเรียนคือ เซค 5 เป็นเซคที่เพื่อน กับรุ่นพี่หลายคนบอกว่าเป็นอาจารย์ชาวต่างชาติที่ขึ้นชื่อ (ที่เคร่งอะไรทำนองนั้นอ่ะ) ตอนแรกเราก็กลัวๆ นะ ภาษาอังกฤษยิ่งอ่อนแอด้วย คงโดนหยุมหัวแน่ แต่พอเรียนได้เรื่อยๆ เรากลับโอเคกับการสอนของอาจารย์เขานะ มีครั้งหนึ่งตอนเรา Interview Practice รอบแรกเลย อาจารย์แกให้ Feedback กลับมาเพื่อให้เราเอาไปแก้ หรือกลบจุดบอด และเราได้ยินคำพูดหนึ่งของอาจารย์ ซึ่งเราจำมันได้ดี โดยบอกไว้ว่า

"นิสิตที่ผมสอนทุกคน พวกคุณไม่ต้อง Perfect เสมอไปก็ได้ 
แต่ผมอยากให้พวกคุณนำสิ่งที่เรียนเอาไปใช้ และ
ขอให้ประสบความสำเร็จ...."
RHG                  



Differential Equation (Diff Equa) 
     ความยาก : 10/10  😱
     วิชาที่ต้้องผ่านมาก่อน : Calculus II
     ลักษณะการเรียน : Lecture
     การตัดเกรด : อิงกลุ่ม (F ต่ำกว่า 39)
     ** วิชานี้เปิดให้สอนสำหรับ รหัส 65 เป็นรุ่นสุดท้าย หลักสูตรปีถัดไปจะไม่เจอวิชานี้แล้ว

    การเก็บคะแนน : สอบ 100% แบ่งเป็น Midterm (50%) + Final (50%) 
    หนังสือแนะนำ : ไฟล์โจทย์จากอาจารย์
    ความรู้ควรมีมาด้วย : สูตร Diff & Integrate และเทคนิคอินทิเกรต จาก Calculus I
    เนื้อหาที่เรียน :
          + Midterm 
                 1. บทนำสู่สมการเชิงอนุพันธ์
                 2. สมการเชิงอนุพันธ์สามัญเชิงเส้นเอกพันธุ์
                 3. สมการเชิงอนุพันธ์สามัญเชิงเส้นไม่เอกพันธุ์
                      3.1. การใช้ตัวดำเนินการผกผัน (D - operator Method)
                      3.2. หลักการเทียบสัมประสิทธิ์ (UC - Method)
                      3.3. หลักการแปรพารามิเตอร์ (VC - Method)
                 4. ระบบสมการเชิงอนุพันธ์
                 5. การประยุกต์ของสมการเชิงอนุพันธ์อันดับสอง
                      (เฉพาะการเคลื่อนที่แบบ Simple Harmonics)
                 6. สมการเชิงอนุพันธ์สามัญเชิงเส้นที่มีสัมประสิทธิ์เป็นตัวแปร
                        6.1. สมการโคชี - ออยเลอร์
          + Final
                        6.2. สมการที่มีผลเฉลยอยู่ในรูปอนุกรมกำลัง
                                 6.2.1. ผลเฉลยรอบจุดสามัญ
                                 6.2.2. ผลเฉลยรอบจุดเอกฐานปรกติ
                7. ฟังก์ชันพิเศษ (Gamma - function, สมการเลอจองด์, สมการเบสเซล)
                8. Laplace Tranformation
                9. Fouries series
                10. สมการเชิงอนุพันธ์ย่อย (แบบแยกตัวแปรได้)
                        10.1. สมการคลื่น 1 มิติ
                        10.2. สมการความร้อน 1 มิติ
                        10.3. สมการลาปลาส 2 มิติ
                        10.4. สมการอื่นๆ 

    หมายเหตุ :
        1. วิชานี้เป็นวิชาที่เป็น 1 ใน 3 ของแคลคูลัสปี 2 ได้แก่ Calculus III, Multivarible Calculus และ Differential Equations ซึ่งทั้งหมดจะต้องมีวิชา Calculus II เป็นตัวที่ต้องผ่านทั้งหมด และวิชานี้จะเรียนเพียงแค่ภาคอุตสาหการ กับภาคสิ่งแวดล้อม
        2. ที่มีการแยกตัวข้ออย่างละเอียด ก็เพราะวิชานี้เป็นวิชาที่เยอะ และยากที่สุดในซีรีย์แคลคูลัส (Cal I, Cal II และ 3 ตัวบน) ทั้งในแง่การตัดเกรด, การกระจายของคะแนนสอบ, การ withdrawn ซึ่งการันตีมาหลายรุ่น  (ปีการศึกษา 66 เทอม 1 ลงทะเบียนตอนเปิดเทอม 120 คน สอบไฟนอลเพียง 80 คน //อัพเดทก่อนสอบจริง 1 สัปดาห์)😢
        3. วิชานี้คะแนน Midterm : ค่าเฉลี่ย 22/50, Maximum = 37 - 38/50, S.D. = 4.25 (โดยประมาณ)
        4. Midterm: 1 - 6.1 และ Final: 6.2 - 10
        5. (คำแนะนำ) อย่าพลังใจหลุด เพราะแต่ละข้อถึกมากๆ

วิชานี้จะเปิดทั้ง 2 เทอม แต่สำหรับวิศวะ จะมีเซคแยกของตัวเองเลย
    รีวิววิชานี้ :
        วิชานี้เป็นวิชาที่ต่อยอดมาจากบทสุดท้ายใน Calculus II ซึ่งคือบท "สมการเชิงอนุพันธ์เบื้องต้น" ซึ่งในบทนั้นจะเป็นการแก้สมการเชิงอนุพันธ์อันดับหนึ่ง มี 4 รูปแบบ คือ สมการแยกตัวแปรได้, สมการเอกพันธุ์ (คนละอันกับใน Diff Equa), สมการแม่นตรง, สมการเชิงเส้น และแบร์นูลี ซึ่งจะมีเนื้อหาบางส่วนคล้ายคลึงกับ Elect Eng Math I ของภาคไฟฟ้า

        ในวิชา Diff Equa นี้ จะเป็นการแก้สมการเชิงอนุพันธ์อันดับสูง (>= 2) แต่ส่วนใหญ่ก็จะแก้แค่อันดับสองเป็นหลัก (แค่อันดับสอง ก็แทบทรุดแล้วจ้าา) ตัวอย่างง่ายๆ เลย คือพวกสมการ SHM หรือ RLC ใน Gen Phys นั่นเอง ( ดูเท่ใช่มั้ย ล้าาาา >_< )

    ความยากของวิชานี้ คือ 
                1. สูตร Diff และ Integrate รวมไปถึงเทคนิคการอินทิเกรตทั้งหมดไม่ว่าจะทั้ง By Parts, Partial Fraction, การแทนค่า u ฯลฯ ใน Calculus I จะต้องนำมาใช้เกือบทั้งหมด อย่างทันที รวมไปถึงการนำสูตรต่าง ๆ ในแต่ละบทมาใช้ด้วย
                2. มีคำถาม 90% แค่แก้สมการเท่านั้น แต่ค่อนข้างถึก - ถึกมากทั้งตัวแปร ฟังก์ชัน และตัวเลข +-x/ ทำให้ข้อเดียวอาจใช้ถึง 1 - 1.5 หน้า A4 เลยก็ได้ และผลเฉลยที่แก้ออกมาได้จะเอาไปตรวจคำตอบค่อนข้างยาก เพราะผลเฉลยอยู่ในลักษณะที่ไม่เอื้อต่อการ Diff กลับไปเช็ค ไม่ก็ติดในรูปอนุกรมอนันต์ 
                3. ใน Midterm เนื้อหาต่อกันอย่างมาก โดยเฉพาะบท 2 และ 3 ซึ่งหากทำ 2 บทนี้ได้ไม่ดี จะทำให้บท 4 - 6 ลำบากได้แน่นอน **Simple Harmonics จะเหมือนใน Gen Phys เลยที่มีพวก damp, ความถี่สั่นพ้อง ฯลฯ
                4. ใน Final เนื้อหาไม่ได้ต่อกันมากนัก แต่จะมีความถึกอย่างหนัก ในทุกๆ เนื้อหา และส่วนมาก หากไม่นับบท Laplace Tranformation คำตอบมักอยู่ในรูปอนุกรมอนันต์ ซึ่งไม่สามารถเช็คคำตอบได้ง่าย และยังไม่รวมไปถึงการ By Parts 1 - 2 รอบ ในเรื่อง Fouries series ที่ต้องแทนขอบเขตอีกด้วย ฯลฯ

💻 Introduction to Manufacturing System (Intro MFG SYS)
     ความยาก : 6/10
     ลักษณะการเรียน : Lecture
     การตัดเกรด : อิงเกณฑ์ ผสมกลุ่ม
     ** วิชานี้เปิดให้สอนสำหรับ รหัส 65 เป็นรุ่นสุดท้าย หลักสูตรปีถัดไปจะไม่เจอวิชานี้แล้ว

    การเก็บคะแนน : 
      1. สอบ Midterm [หัวข้อ 2-7]              =  45% (เอา Cheatsheet เข้าไปได้ 1 แผ่น)   
       2. สอบ Final [หัวข้อ 8,9,12]               =  25%  
       3. Assignment (ก่อน Midterm)        
                       - Intro to IE                          =   5%
       4. Assignment (ก่อน Final)               
                       - Economic & Lean                               = 17%
                       - Advanced manufacturing system   =  8%

    เนื้อหาที่เรียน :
          + Midterm 
                 1. Intro to IE
                 2. Operations strategy
                 3. Product design
                 4. Service design
                 5. Process design
                 6. Layout design
                 7. Learning Curve
           + Final
                 8. Supply Chain Management
                 9. Logistics
              10. Economic and Finance Analysis 
              11. Lean Operations
              12. Quality Improvement
              13. Advanced Manufacturing System

      หมายเหตุ: 
          1. วิชานี้เป็นวิชาที่เรียนรวมกันทั้งภาค (เปิดเซคเดียว) และในแต่ละสัปดาห์ทั้ง 13 สัปดาห์ จะมีอาจารย์ผลัดกันสอน อาทิตย์ละ 1 ท่าน ไม่ซ้ำกัน
          2. วิชานี้เปิดรุ่นรหัส 65 เป็นปีสุดท้าย และมีตัวต่อเป็น OPN MGT (Operation Management) ในเทอม 2 แต่หากมีการถอนไป ก็สามารถลงต่อได้เลย
          3. (คำแนะนำ) เน้นท่อง และเข้าเรียนในคาบนะ มันทำให้เห็นภาพรวมภาคได้ดีเลย

    รีวิววิชานี้ :
            วิชานี้จะเป็นวิชาที่แนะนำเนื้อหาใน 3 ปีหลังจากนี้ให้นิสิตปี 2 ได้รู้จักคร่าวๆ ในแง่มุมต่างๆ ของ IE คับ ซึ่งจะมีอาจารย์ที่ถนัดแต่ละด้านมาสอนเลย (ให้อารมณ์เหมือนการเรียน EXPL ENG WORLD หรือวิชาแนะนำภาคของภาคอื่นๆ เช่น EE ESSENTIAL ของภาคไฟฟ้า เป็นต้น)
            โดยในอนาคต หลังจากนี้เนื้อหาทั้ง 13 ส่วนนี้ จะถูกแทรก หรือมีเป็นวิชาแยกเลย ซึ่งจะได้เจอด้วย เช่น Economic หัวข้อ 10. จะได้เรียนเป็น 1 วิชาในปี 3 เทอม 1, Quality Improvement จะถูกแทรกไปเรียนในปี 2 เทอม 2 และ ปี 3 เทอม 1 และอื่นๆ 

การแจกแจงคะแนนของ Midterm 45%

🖩 Engineering Statistics I (Eng Stat I) 
     ความยาก : 6/10
     ลักษณะการเรียน : ผสม (ให้ดูคลิปเนื้อหาใน MCV มาก่อน และมาทบทวนในคาบ)
     การตัดเกรด : อิงเกณฑ์ 


    การเก็บคะแนน : 
        1. สอบ Midterm                                      =  35 %     (8 ข้อ)
       2. การบ้าน 7 ครั้ง ครั้งละ 2%                 =  14 %     (ครั้งละ 4 ข้อ)
       3. Quiz ในคาบเรียน 8 ครั้ง ครั้งละ 2%  =  16 %     (ครั้งละ 4 ข้อ)
       4. สอบ Final                                             =  35 %
    
    เนื้อหาที่เรียน :
          + Midterm 
                 1. Descriptive Statistics
                 2. Probability & Bayes's Theorem
                 3. Discrete Random Variable & Distribution (ตัวแปรสุ่มไม่ต่อเนื่อง)
                        3.1. นิยามพื้นฐานของตัวแปรสุ่ม
                        3.2. การแจกแจงที่ควรรู้จัก
                                3.2.1. เอกรูป (Uniform)
                                3.2.2. เบอร์นูลลี (Bernoulli) และ ทวินาม (Binomial)
                                3.2.3. ไฮเปอร์จีโอเมทริก (Hypergeometric)
                                3.2.4. ปัวซองด์ (Poisson)
                                3.2.5. ทวินามลบ (Negative Binomial)
                 4. Continuous Random Variable & Distribution (ตัวแปรสุ่มต่อเนื่อง)
                        4.1. นิยามพื้นฐานของตัวแปรสุ่ม
                        4.2. การแจกแจงที่ควรรู้จัก
                                4.2.1. เอกรูป (Uniform)
                                4.2.2. เลขยกกำลัง (Exponential)
                                4.2.3. ปกติ (Normal) *****
           + Final
                 5. Joint Distribution (การแจกแจงความน่าจะเป็นร่วม)
                 6. Sampling Distribution (การแจกแจงของการทดลองสุ่ม)
                 7. Statistical Inference (สถิตเชิงอนุมาน)
                 8. Hypothesis Test (การทดสอบสมมติฐาน) **บทใหญ่มากๆๆๆ     

    หมายเหตุ :
        1. วิชานี้เป็นวิชาภาควิชาที่นิสิตภาค IE จะได้เรียน ซึ่งจะเรียนด้วยกันกับภาคเครื่องกล, ภาคสำรวจ และภาคยานยนต์
        2. จาก Study Map จะเห็นว่าวิชาตัวต่อ Eng Stat I นี้เยอะมาก ๆ สำหรับภาคอุตสาหการ และเทอม 2 จะมี Eng Stat II ซึ่งจำเป็นที่จะต้องผ่านวิชานี้ก่อน
        3. ฝึกใช้เครื่องคิดเลขโหมด Statistics กับ Distribution ให้คล่อง จะมีประโยชน์มาก ๆ

สำหรับ IE จะมีเซคเปิดให้เฉพาะเลย

    หนังสือแนะนำ : 
       Applied Statistics and Probability for Engineering [Montgomery & Runger]

    รีวิววิชานี้ :
            สำหรับ Eng Stat I นี้ จะแบ่งเนื้อหาออกมาเป็น 2 ส่วน โดยส่วนแรกจะเรียนเกี่ยวกับความน่าจะเป็น (บท 2 - 5) และ สถิต (บท 6 - 8) เป็น Midterm และ Final ตามลำดับเลย ซึ่งจะเป็นการเรียนสัปดาห์เว้นสัปดาห์สำหรับ 7 บทแรก [ สัปดาห์คี่ = เรียน Onsite (มีทบทวนเนื้อหา และ Quiz) และสัปดาห์คู่ = เรียน Online (เรียนเนื้อหาของสัปดาห์ถัดไป และการบ้าน) ] ส่วนบท 8 จะเป็นการเรียน Onsite ติดต่อกันเลย 2 สัปดาห์

            ใน Midterm ที่เป็นเรื่องเกี่ยวกับความน่าจะเป็น ซึ่งมีบางส่วนมีพื้นฐานจากตอน ม.ปลาย ตอน ม.5 เทอม 2 และ ม.6 เทอม 2 บทหลักการนับและความน่าจะเป็น, สถิต และตัวแปรสุ่มและการแจกแจงความน่าจะเป็น (หลักสูตร สสวท. 2560) เช่น ค่ากลางของข้อมูล, การแจกแจงทวินาม ฯลฯ ซึ่งเนื้อหาค่อนข้างเป็นนามธรรม (คือนึกภาพตามยาก) แต่เนื้อหาสำคัญมาก ๆ ของส่วนนี้คือ การแจกแจงเเบบปกติ (Normal Distribution) ในบท 4 เพราะมีการใช้ต่อในหลายแง่มุมมาก ๆ 

            ใน Final จะเน้นเกี่ยวกับสถิติ (แม้จะมีความน่าจะเป็นมาด้วยส่วนหนึ่ง) ซึ่งเป็นส่วนเหตุภาพ และเข้าใจง่ายกว่า Midterm มาก ๆ อีกอย่างเนื้อหาใน Final นี้มีการนำไปใช้ต่อใน Eng Stat II ทันที (เหมือน Cal II ที่ใช้เทคนิคอินทิเกรตต่อจาก Cal I) นอกจากการนำไปใช้ต่อในเทอมถัดไป ยังมีประโยชน์มาก ๆ ในงานด้าน Data Science อีกด้วย

    สถิติคะแนนกลางภาค

เห็นชัดเจนเลยฮะ ...ว่าเบ้ไปทางคะแนนสูง (เราได้เต็มฮะ 555+)
เต็มระดับที่ว่า ไฟนอลเก็บเพียง 10 ต้นๆ ก็ A แล้ว



💻 APPLICATION DEVELOPMENT FOR IE (APP DEV IE) 
     ความยาก : 7/10 
     วิชาที่ต้้องผ่านมาก่อน : COMP PROG (เรียนตอน ปี 1 เทอม 1 หรือ 2)
     ลักษณะการเรียน : Lecture
     การตัดเกรด : อิงเกณฑ์ 
     ** วิชานี้เปิดให้สอนสำหรับ รหัส 65 เป็นรุ่นสุดท้าย หลักสูตรปีถัดไปจะไม่เจอวิชานี้แล้ว

     ภาษาที่ใช้เรียน : C#

    การเก็บคะแนน : 
        1. สอบ Quiz และงานในห้องเรียน  = 30%    
       2. สอบ Final                                    = 40% (สอบนอกตาราง)
       3. Project ทำอะไรก็ได้                    = 30%          

    เนื้อหาที่เรียน :  แล้วแต่อาจารย์....
    [เพิ่มเติม] : ตารางงาน APP DEV - Google ชีต 
        ตารางนี้สามารถดูประกอบได้ว่าได้เรียน และมีโปรแกรมอะไรบ้างในรายวิชานี้ (ใช้อีเมลจุฬาเข้านะ)                 

    รีวิววิชานี้ :
        วิชานี้จะเป็นวิชาภาคที่เรียนเพียง IE ภาคเดียว โดยจะมีเซคให้เรียนถึง 2 เซค คือเซควันจันทร์ และเซควันพฤหัส โดยทั้ง 2 เซคจะมีอาจารย์คนเดียวกันสอน

              ซึ่งภาพรวมแล้วจะเป็นการสอนการทำโปรแกรมในรูปแบบ Application ไว้ใช้ในงานต่าง ๆ เช่น การใช้ Picture Box มาสร้างรูป, การทำ Console, การทำโปรแกรม Print / Save PDF file จนไปถึงการทำเกมอย่างง่าย เป็นต้น


💬💬 ปิดท้าย 💬💬
      ก็จบไปแล้วฮะ สำหรับการรีวิวแต่ละวิชาเรียนสำหรับวิศวะ ภาคอุตฯ จุฬา ปี 2 ในเทอมนี้ หวังว่าทุกๆ คนจะชอบและสนใจกันฮะ 📔

      สำหรับคนที่อยากเข้าที่นี่ ขอบอกไว้ก่อนเลยว่า  " จริงๆ แล้วที่พูดมาไม่ได้จะขู่ หรืออะไรแต่อย่างไรนะ...  " แต่อยากให้รับรู้ และเข้าใจภาพรวมของการเรียนของที่นี่ให้มากขึ้น ก่อนที่จะตัดสินใจเข้ามาเรียนเด้อ แล้วเกณฑ์หรือการเรียนการสอนในแต่ละปี ก็อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสมเสมอเลย 

    ถ้าเรามีข้อมูลใดๆ ผิดพลาด หรือมีความสนใจสำหรับวิชาไหนเป็นพิเศษก็สามารถทักมาทาง ig เราได้เลยยย ยินดีตอบฮะ

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

EP 1 : รีวิววิชาเรียนของวิศวะจุฬา ปี 1 เทอม 1 ปีการศึกษา 2565

EP 3 : รีวิววิชาเรียนของวิศวะจุฬา ปี 1 เทอม 2 ปีการศึกษา 2565