EP 3 : รีวิววิชาเรียนของวิศวะจุฬา ปี 1 เทอม 2 ปีการศึกษา 2565
"...เทอมก่อนเป็นอย่างไร.... เทอมนี้... ใช่ฮะเป็นแบบนั้น 5555+ ..."
สวัสดีฮะ EP3 นี้เป็นตอนต่อเนื่องกับ EP 1 : รีวิววิชาเรียนของวิศวะจุฬา ปี 1 เทอม 1 ปีการศึกษา 2565 ซึ่งสำหรับ EP3 นี้จะเป็นการรีวิวภาคต่อของกลุ่ม A นั่นเองง ได้แก่ Calculus II , Gen Physic II , Gen Chem , Gen Chem Lab , Eng Drawing และ Exp Eng II คับ
นอกจากนี้ เนื้อหาของเทอมนี้โดยส่วนมากจะเน้นคะแนนจากการสอบเป็นหลักเลยย เรียกว่าเทอมนี้เนื้อหานอกจากจะตึงแล้ว ยังโหดด้วยย T-T ส่วนแต่ละส่วนจะเป็นยังไงก็มาดูกันน
❗ Caution❗
- ในส่วนภาพรวมของการเรียนสำหรับปี 1 โดยทั่วไป และการแบ่งกลุ่ม A,B เราอ้างอิงจาก EP1 ฮะ ซึ่งเราขอไม่พูดถึงในส่วนนี้เน้ออ (กดที่ EP 1 : ตรงฟอนต์สีน้ำเงินได้เลยย)
- แต่ละการรีวิวนี้ เป็นการรีวิวในความคิดเห็นส่วนตัวของเราเองเท่านั้น อาจมีการให้มุมมองที่แง่ลบ หรือความรู้สึกที่มองผ่านวิชานั้นจริงๆ รวมไปถึงความอวยแต่ละวิชาด้วย อิ_อิ
- ในแต่ละปีการเก็บคะแนน การจัดการสอนอาจไม่เหมือนกันนะ แต่โดยรวมแล้วจะมีความคล้ายๆ กันอยู่ในแต่ละปี เช่น การออกข้อสอบ เป็นต้น
- เราอาจไม่ได้ถนัดวิชาบางวิชา จึงรีวิวมันในมุมมองของคนที่ไม่ถนัดจริงๆ
⎰ Calculus II (Cal II)
ความยาก : 7.5/10
วิชาที่ต้องผ่านมาก่อน : Cal I
การตัดเกรด : อิงเกณฑ์
<< วิชานี้แอบตัดเกรดแปลกๆ นะ >>
การเก็บคะแนน : สอบ 100% แบ่งเป็น Midterm (50%) + Final (50%)
เนื้อหาที่เรียน
+ Midterm
1. อนุกรมของจำนวนจริง
2. อนุกรมกำลัง
3. เวกเตอร์ในปริภูมิสามมิติ
+ Final
4. ฟังก์ชั่นหลายตัวแปร
5. อินทิกรัลของฟังก์ชั่นสองตัวแปร
6. สมการเชิงอนุพันธ์เบื้องต้น
หมายเหตุ : เนื้อหาของเทอมนี้แทบจะเนื้อหาใหม่หมดเลย เนื้อหา ม.ปลายที่ยังโผล่ๆ มาคือบทเวกเตอร์ ม.5 กับ อนุกรม ม.6 แต่น้อยมากกกกก
รีวิววิชาเรียน
สำหรับ midterm เนื้อหา โดยรวมอาจไม่ค่อยมีความเป็นแคลคูลัสที่มีภาพจำจาก ม.ปลาย และ cal I มากนัก เพราะในช่วงนี้เราจะสนใจเกี่ยวกับการ ลู่เข้า-ลู่ออก" ของอนุกรม โดยใช้วิธีต่างๆ ประมาณ 7 วิธี ,การประมาณค่าที่นอกเหนือจากการใช้ค่าเชิงอนุพันธ์ตอน cal I ด้วย Taylor series ,การเขียนฟังก์ชั่นแปลกๆ ให้อยู่ในรูปอนุกรมพหุนามของ Taylor และความรู้เกี่ยวกับเส้นตรง ระนาบ 3 มิติ โดยจะขยายภาพเราจากเวกเตอร์ ม.ปลาย อยู่เยอะเลย (แต่ทุกๆ ส่วนของเนื้อหาจะแทรก cal I อยู่เสมอๆ เลยทั้งการหาลิมิต n --> อินฟินิตี้ ,การดิฟหาฟังก์ชั่นลด ,การโลปิตาล เป็นต้น)
สำหรับ Final เนื้อหา โดยรวมจะเป็นการต่อยอดจากแคลคูลัส 1 มาเกือบหมดเลย ตอนแคล 1 ทั้งเทอมเรียนแบบไหน final จะเรียนแบบนั้น (อ. เคยบอกนะว่าถ้าจบแคล 1 สามารถต่อ cal2 final ได้เลยด้วยซ้ำ เพราะไม่มีความเกี่ยวข้องกันกับ midterm เลย) แต่จะขยายเป็น 2 ตัวแปร(หลักๆ) เช่น ลิมิต 2 ตัวแปร ,ดิฟ 2 ตัวแปร หรืออินทิเกรต 2 ตัวแปร เป็นต้น แต่บทใหม่มากๆ เลยคือ บท "สมการเชิงอนุพันธ์" เป็นบทที่เราจะเอาความรู้ ดิฟ กับอินทิเกรต ในแคล 1 มาใช้ควบคู่กัน (แต่อินทิเกรตใช้เยอะกว่านะ) ในการแก้สมการบางอย่างที่ติดในรูปดิฟ (ถ้านึกไม่ออกนึกถึง gen phy ที่ dv = a dt แล้วอยากหา v ก็อินทิเกรต 2 ข้าง นั่นก็จัดเป็น 1 ใน 5 รูปแบบที่เราจะเรียนกัน) ซึ่งความยาก-ง่าย ก็ขึ้นกับกรรมเก่าตอนแคล 1 ด้วยแหล่ะ 😂
ความเห็นส่วนตัว
สำหรับเรานะ โชคดีมากๆ เลยย เราได้อาจารย์ที่สอนรู้เรื่องและโอเคมากกก สอนสนุกด้วย บอกตรงๆ เลยเรา enjoy และตั้งใจทำโจทย์วิชานี้เยอะมั๊กๆ โคตรพยายามเลย T_T จนคะแนน midterm เราได้ท๊อปเซคด้วย 5555+ (เย้!!!)
ใน midterm อ่ะอาจดูเนื้อหาเยอะๆ หน่อย เพราะเราเรียนทั้งลำดับ-อนุกรม เวกเตอร์ ซึ่งพวกนี้เน้นความถึกจัดๆ เลย (แนะนำอย่างยิ่งให้ทำโจทย์เยอะๆ พยายามทดๆ หรือเขียนภาพด้วย จะช่วยได้เยอะ)
ใน final ก็ตามที่เราบอกเลย.. ด้วยความที่ตอน แคล 1 เราฝึกโจทย์ทั้งดิฟกับอินทิเกรตเยอะมากกก ,เนื้อหาครึ่งหลังเรามองว่าไม่ค่อยเยอะและไม่ค่อยยากมากนัก แต่จะดูเบลอๆ ตรงบทสุดท้ายที่ตัวแปรเยอะมากๆ แนะนำให้ค่อยๆ ทำ อย่าข้ามขั้นมากไม่งั้นตอน recheck จะลำบากจริงๆ
คำแนะนำ
1. สูตรดิฟ อินทิเกรต หรือเทคนิคต่างๆ ใน แคล 1 ใช้ต่อนะ อย่าลืมม
2. ชีทพี่ตูน และแบบฝึกหัดจากอาจารย์ทั้ง 12 ชุด
3. ตั้งใจเรียนในคาบ สงสัยตรงไหนถ้าจดไว้เลย พอท้ายคาบก็ไปถามอาจารย์ได้เลย
4. ฝึกความอดทน ฝึกคิดเลข (บางจุดคิดเลขเยอะมาก T-T) หมั่นทำโจทย์
5. คลิปพี่สอนน้อง
👀 General Physic II (Gen Phys II)
ความยาก : 8.5/10
วิชาที่ต้องผ่านมาก่อน : ไม่มี
การตัดเกรด : อิงเกณฑ์
การเก็บคะแนน : สอบ 100% แบ่งเป็น Midterm (50%) + Final (50%)
+4% (Bonus จากแบบฝึกกลาง)
เนื้อหาที่เรียน
+ Midterm
1. แรงไฟฟ้า และประจุไฟฟ้า (Comlomb force)
2. กฎของเกาส์ (Guess's Law)
3. ศักย์ไฟฟ้า
4. ตัวเก็บประจุ
5. แรงแม่เหล็ก
6. สนามแม่เหล็ก (Biot-Sawart & Ampere's Law)
7. การเหนี่ยวนำของแม่เหล็ก (Faraday's Law & Lenz's Law)
8. ตัวเหนี่ยวนำ
9. ตัวต้านทาน
10. วงจรกระแสตรง (DC-Circuit : R , RC , RL , LC , RLC & Kirchoff 's Law)
11. วงจรกระแสสลับ (AC-Circuit)
+ Final
12. คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Maxwell Equation)
13. แสงเชิงเรขาคณิต (กระจก ,เลนส์)
14. แสงเชิงฟิสิกส์ (การแทรกสอด ,การเลี้ยวเบน)
15. ทฤษฎีสัมพัทธภาพ
16. ฟิสิกส์อะตอม
17. ฟิสิกส์นิวเคลียร์
หมายเหตุ : ทั้ง 17 บทเราแบ่งตามกลุ่มเนื้อหาบทเท่านั้น ในตอนเรียนจะมีการแบ่งละเอียดกว่านี้ และ ส่วนสีน้ำเงินคือส่วนที่มีการเพิ่มเนื้อหาจาก ม.ปลาย หรือไม่เคยมีเรียนใน ม.ปลาย
รีวิววิชาเรียนและความเห็นส่วนตัว
ถ้า phy I ว่าเราแบ่งเยอะแล้วนะ.... จะบอกเลย 555+ เนื้อหาเทอมนี้เยอะกว่ามากๆ มากๆ ถ้าเจาะรายละเอียด details ต่างๆ ก็จะรู้เพิ่มเติมด้วยว่ามันเยอะกว่ามากจริงๆ แหล่ะ
สำหรับ midterm อาจเป็นส่วนที่เข้าใจค่อนข้างจะยากระดับเลยนึง เพราะเกี่ยวกับ แม่เหล็กและไฟฟ้า ซึ่งต้อง ใช้คณิตศาสตร์เยอะมากๆ (พูดให้ชื่นใจฮะทั้ง 11 บทนั้น ใช้อินทิเกรตทุกบท ...T-T รวมไปถึงการ dot ,cross vector ,กฎมือขวา ก็ด้วย) เเละมันใช้เนื้อหาต่อเนื่องกันอย่างชัดเจนเลย คือ เรื่อง 1 --> 4 กับ 5 --> 8 และ 4,8 คือตัวเก็บประจุ (C) กับตัวเหนี่ยวนำ (L) จะถูกนำไปใช้ในบทที่ 10,11 ด้วย และประเด็นคือ! สูตรโคตรเยอะเลย ใบสูตรที่ให้มาตอนสอบก็ให้มาไม่หมดด้วย แต่ต้องรู้ว่าเราสามารถใช้สูตรจากใบสูตรเพื่อหาสูตรบางอย่างต่อไปอีก โดยอาศัย 8 บทแรกมาช่วยอีก มันจึงทำให้ ภาพรวมดูค่อนข้างยาก (มาก) เลยแหล่ะ
![]() |
คะแนนสอบ midterm ออกมาบอกเลยว่า ตุ๊บกันทั้งคณะจริงๆ นะ ปล. ไม่รู้เหมือนกันฮะว่า -2 มาจากอะไร |
สำหรับ final หลายๆ ครั้งเราก็แอบนึกนะว่า "เรียนวิศวะต้องเรียนพวกนี้ด้วยเรอะ 5555+" // ก็ดูแต่ละเนื้อหาสิ อะตอม ควอนตัม งี้ เเหะๆ // เรามองว่าเนื้อหาในพาร์ทนี้จะเป็นลักษณะที่เข้าใจค่อนข้างยากในส่วนนึง (พวกควอนตัม งี้) แต่ก็ไม่มากเท่า midterm ทั้งแง่โจทย์ หรือเนื้อหา โดยภาพรวมจะเหมือน ม.ปลายที่เรียนๆ กันมาเยอะอยู่ โดยเฉพาะ ฟิสิกส์อะตอม และฟิสิกส์นิวเคลียร์ 2 บทนี้เหมือน ม.ปลาย แทบจะ 100% เลย (แต่ก็ไม่ได้ง่ายนะ โดยเฉพาะการคิดเลข 😂)
ปล. ลักษณะการสอบก็เหมือนเดิมฮะ 12 ข้อ แบ่งเป็น 6 ข้อง่าย กับ 6 ข้อตึงมือ 😓
คำแนะนำ
1. โจทย์ใน serway ,แบบฝึกหัดกลาง และในสไลด์อาจารย์ ควรจะทำให้ได้เยอะ
2. ดูคลิปพี่เคน (ที่ตอนนี้พี่เขาสอน เคมีที่สถาบันสีแดงอ่ะ) เช่นกันคับบ
3. ตั้งใจเรียนในคาบ สงสัยตรงไหนถ้าจดไว้เลย พอท้ายคาบก็ไปถามอาจารย์ได้เลย
4. วิชานี้ไม่มีสูตรลัดแล้ว! อย่าหวังพึ่งมันเลย ถ้าข้อไหนทำไม่ได้อย่างน้อยก็เขียนสูตร เขียน FBD ไปคะแนนก็มีขึ้นมาแล้ว (ถึงจะเป็นเศษเสี้ยวก็ยังได้นะ)
5. คลิปพี่สอนน้อง
6. มีสติทุกครั้งที่ทำโจทย์ และกดเครื่องคิดเลขให้ดีๆ อย่าหลุด
🥼 General Physic Laboratory II (Gen Phy Lab II)
ความยาก : 4/10
วิชาที่ต้องผ่านมาก่อน : ไม่มี
การตัดเกรด : อิงเกณฑ์
การเก็บคะแนน : ใบแลป 10 แลป (60%) + ควิซ 10 ครั้ง (10%) + Final (30%)
ปฏิบัติการแล็บที่ได้ทำ
1. การใช้เครื่องวัดทางไฟฟ้าเบื้องต้น
2. การใช้ออสซิโลสโคปเบื้องต้น
3. แอมมิเตอร์และโวลต์มิเตอร์
4. ไฟฟ้ากระแสสลับ
5. เลนส์และกระจกโค้ง
6. โพลาไรเซชั่น
7. การแทรกสอดและการเลี้ยวเบน
8. กัมมันตภาพรังสี
9. อุปกรณ์สารกึ่งตัวนำ
10. การเหนี่ยวนำแม่เหล็กไฟฟ้า
รีวิววิชาแล็บ
สำหรับวิชานี้ก็เหมือนกับ Phy Lab I เลยย ที่มี Lab 10 Lab แต่สำหรับเทอมนี้เราจะได้ใช้อุปกรณ์ที่เฉพาะทาง(ราคาแพง) มากขึ้นเยอะมากๆ เช่น แอมมิเตอร์ ,กัลวานอมิเตอร์ ,ออสซิโลสโคป ฯลฯ ซึ่งมันสนุกมากกก
![]() |
แลปเกี่ยวกับวงจรไฟฟ้า |
![]() |
อันนี้เป็นเเลปเกี่ยวกับการสลายตัวของสาร |
การสอบวิชานี้ก็เหมือนเดิม ที่จะเป็นการเอาข้อมูล หรือการทดลองทั้ง 10 lab ที่เราทำมาทำเป็นข้อสอบฮะ เฉลี่ยแลปละ 3 คะแนน ซึ่งก็เหมือน gen phys ที่เขาให้เอาเครื่องคิดเลขเข้ามาได้ๆ แต่จะเป็นการถามภาพรวมของแลปที่เราทำ อาจมีให้เติมตารางช่องที่หายไปบ้าง ,หรือให้สถานการณ์แลปที่เคยทำจริงๆ เเล้วถามตรงๆ เลย
คำแนะนำ : ไม่มีเลยฮะ
🔬 General Chemistry (Gen Chem)
ความยาก : 6.5/10
วิชาที่ต้องผ่านมาก่อน : ไม่มี
การตัดเกรด : อิงกลุ่ม (แต่จะ F เมื่อต่ำกว่า 40)
การเก็บคะแนน :
เนื้อหาที่เรียน
+ Midterm
1. Introduction to Chemistry
2. โครงสร้างอะตอม
3. ตารางธาตุ
4. พันธะเคมี
5. แรงยึดเหนี่ยว และสมบัติของสาร
+ Final
6. ปริมาณสารสัมพันธ์
7. อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี
8. สมดุลเคมี #เป็นบทที่นำมาสอบย่อย 5%
9. กรด-เบส
10. เคมีไฟฟ้า
11. อุณหพลศาสตร์
12. เคมีนิวเคลียร์
รีวิววิชานี้
สำหรับวิชานี้วิศวะจะได้เรียนทุกภาค แต่จะได้เรียนเพียง 1 เทอม ซึ่งนั่นก็เป็นเหตุผลเพียงพอเลยแหล่ะที่วิชานี้เนื้อหาเยอะมากกกกกกก (เอาจริงๆ คือเหมือน ม.ปลาย 3 ปี ยกเว้น เคมีอินทรีย์ และพอลิเมอร์ มาอัดอยู่ในเทอมเดียว //หนักกว่าฟิสิกส์อีก นั่นอัดใน 1 ปี) ทำให้การเรียนวิชานี้ อาจารย์จะสอนไวมากก
วิชานี้ อ. จะแบ่งกันสอน 2 คน คือ Midterm กับ Final เกณฑ์การให้คะแนนเลยแตกต่างกัน แต่จุดที่เหมือนกันเลยคือ 1.ต้นคาบ อ. จะรีแคปไวๆ กับเนื้อหาที่เรียนในคาบก่อนหน้าตลอดเลย 2.ด้วยความวิชานี้สอนไวมาก อ.เลยมีคลิปให้เรียนล่วงหน้า (หรือย้อนหลัง) ด้วย อันนี้เราโอเคมากก กับรายวิชานี้
นอกจากนี้คะแนนแบบฝึกหัดทั้ง 2 ส่วนอ่ะ อ.จะปล่อยแบบฝึกหัดให้เราทำหลังจากเรียนเนื้อหาเสร็จใน MyCourseVille มีโอกาสทำได้ 5 รอบ โดยจะเป็นการทำสะสมคะแนนไปเรื่อยๆ (เอาคะแนนแต่ละครั้งที่มากที่สุดมาคิดคะแนน) ซึ่งถ้าขยันทำก็ได้คะแนนมาฟรีๆ เลย ตั้ง 25 คะแนน!!
สำหรับ Midterm เนื้อหาจะเหมือนกับ ม.ปลาย ม.4 เทอม 1 เลย แต่จะเพิ่มเนื้อหาเกี่ยวกับควอนตัมมาด้วยส่วนหนึ่ง แต่โดยรวมเนื้อหาจะไม่ได้ลึกมากเท่า ม.ปลาย นะ เช่นบทตารางธาตุ ก็ตัดเกี่ยวกับสมบัติเฉพาะของแต่ละหมู่ออกงี้ ,พันธะเคมี ก็ตัดเกี่ยวกับโคออร์ดิเนตออก เป็นต้น ข้อสอบนี่จะไม่ลึกเวอร์เท่าเคมีวิชาสามัญที่ 1 ข้อมันเล่นทุกอย่างฮะ 5555+
สำหรับ Final เนื้อหาจะเป็นความรู้ ม.4 เทอม 2 ถึง ม.5 เทอม 2 เลย แต่ความยากจะไม่มากเท่านะ คือเนื้อหาเดิมจาก ม.ปลาย 70%-80% แล้วจะมีเนื้อหามหาลัยเพิ่มเติมมาบ้าง เช่น สมการอาร์เรเนียสในบทอัตราฯ ฯลฯ แต่โดยรวมแล้วความยากเทียบเท่า midterm เลย ต่างกันตรงที่เนื้อหาค่อนข้างเยอะกว่ามาก (มากๆๆ) และเน้นการคำนวณมากกว่าด้วย
ความเห็นส่วนตัว
วิชานี้เอาตรงๆ เลยเป็น "วิชาที่เราชอบมากที่สุด แล้วในปี 1" ทั้งการสอน ,สไลด์ ,ความอยากเรียน ,การให้คะแนนเก็บ และ อ.ทั้งสองคน สอนดีด้วยย ตอนมิทเทอมนี่เราบ้าพลังอ่านวิชานี้หนักมากๆๆ (เคยนอนแล้วฝันถึงตารางธาตุด้วย 55555+) ประกอบกับพื้นฐานเคมีเราค่อนข้างดีอยู่แล้วด้วย ทำให้คะแนนสอบมิทเทอม เรากลายเป็น outlier ไปเลย 5555+
![]() |
midterm แบ่งเป็น ข้อกา 50 คะแนน ข้อเขียน 40 คะแนน เราเก็บข้อกาไปแล้ว 49/50 ภูมิใจมากกก ภาพนี้เป็นช่วงคะแนนสอบบทสมดุล ที่เก็บ 5% แยกฮะ |
คำแนะนำ
1. ตารางธาตุ และใบสูตรข้อสอบให้นะ ไม่ต้องซีเรียสไป ในส่วนนี้
2. ควรหาแบบฝึกหัดมาทำเพิ่มเติมจากที่ อ. ให้มา (ทำข้อสอบเก่า Ent ,สสวท. ก็ช่วยได้)
3. เน้นทำความเข้าใจในแต่ละเนื้อหา เพราะ Concept เคมีมันใช้ต่อเนื่องกันมากๆ
4. ถ้าสงสัยตรงไหนแนะนำให้ถามอาจารย์เลย หรือดูคลิปเรียนซ้ำก็ได้ อย่าพอกไว้ + อย่าใกล้ๆ สอบแล้วอ่าน มันจะอ่านไม่ไหว โดยเฉพาะเนื้อหา Final
5. Midterm เนื้อหามีเพิ่มจาก ม.ปลายมาบ้าง 20% บางจุดก็ตัดออกจาก ม.ปลาย แต่ Final แทบจะเหมือน ม.ปลาย เลย 100%
🔬 General Chemistry Laboratory (Gen Chem Lab)
ความยาก : 5/10
วิชาที่ต้องผ่านมาก่อน : ไม่มี
การตัดเกรด : อิงกลุ่ม
การเก็บคะแนน :
1. โครงสร้างผลึก
2. ความดันไอ และความร้อนแฝงของการเกิดไอ
3. จลนพลศาสตร์ของปฏิกิริยาสำหรับการวิเคราะห์ระดับแอลกอฮอล์ในลมหายใจ
4. การวัดความร้อนด้วยแคลอริมิเตอร์
5. อินดิเคเตอร์สำหรับการไทเทรตกรด - เบส
6. การไทเทรตด้วยอาศัยปฏิกิริยาออกซิเดชั่น - รีดักชั่น
7. สมดุลเคมี
8. การวิเคราะห์เชิงคุณภาพสำหรับแคทไอออน
หมายเหตุ : สำหรับ 5 แล็บเเรกจะนำมาสอบเก็บคะแนน Midterm 25 คะแนนด้วย และ ส่วนสีน้ำเงิน จะมีการสอบแล็บในคาบ 20 คะแนนเช่นกัน
รีวิววิชาแล็บ
วิชานี้เป็นวิชาที่ชอบเหมือน Phy Lab เลยย ที่มีการจัดการวิชาที่ดีมากก อุปกรณ์ทดลองพวกนี้ครบครันมากก แต่ข้อเสียคือ ด้วยความที่ต้องยุ่งเกี่ยวกับการสารเคมีจึงไม่มีการเปิดแอร์ให้ + ใส่เสื้อกาวน์แล็บด้วย โอ้โหห ร้อนมากกก 😥😥
ในการทำแล็บของวิชานี้จะแตกต่างกับ Phy Lab อย่างสิ้นเชิงเลย ตรงที่ในแต่ละครั้ง อ.จะมีการส่งใบบรีฟแล็บ + วิดีโอการทดลอง มาก่อน เพื่อให้เราไปดูมา ซึ่งต้นคาบประมาณ 10 นาทีจะมีการสอบ pretest เนื้อหาแล็บนั้นๆ ด้วย (อยู่ในใบบรีฟ) 8 ครั้ง 25 คะแนน!! 😱 แล้วพอถึงเวลาทำแล็บจะมีพี่ TA กับ อ. คอยดูและช่วยเช็คเกี่ยวกับแล็บด้วย เพื่อความปลอดภัยตอนทำแล็บ
![]() |
แล็บไทเทรตสารละลาย เหล็ก(II) |
ความเห็นส่วนตัว
ด้วยความที่เราชอบเรียนเคมีมากๆ ด้วยแหล่ะ ทำให้เวลาทำเเล็บเราเลยอวยเป็นพิเศษ 555+ ซึ่งก็เป็นงั้นจริงๆ ฮะ ตอนทำแล็บนี้เราตั้งใจทำมากกก เขียนผลการทดลองอะไรพวกนี้เองแทบทั้งหมดเลย T^T (พูดแล้วน้ำตาจะไหล)
สำหรับเรา (และหลายๆ คน) คิดว่าวิชานี้ให้เวลาทำการทดลองค่อนข้างน้อยเกินไป เมื่อเทียบกับการทดลองที่หลายตอนมากๆ ซึ่งส่วนมากจะเขียนผลการทดลองแทบไม่ทันในคาบ ต้องมาเขียนหลังทำแล็บเสร็จ กว่าจะได้ทำเสร็จและได้ส่งก็ดึกเเล้ว (แล็บเสร็จ 16.00)
ตอนสอบปฏิบัติทั้ง 3 ครั้งเราได้ผลการทดลองโอเคมากก (ดีใจมากเลยฮะ 💖) แล้วบ่อยๆ ครั้ง เราทำแล็บเสร็จคนแรกๆ (พี่ TA ขั้นบอกว่าทำไวอะไรขนาดนั้นน) แล้วก็ได้ช่วยเพื่อนในแล็บด้วย เป็นอะไรที่ใจฟูมั๊กๆ เช่นกัน
![]() |
อันนี้เป็นแล็บ 8 คับ เราแยกสารได้ อลูมิเนียมไอออน สีฟ้าสวยมากก |
คำแนะนำ
1. ดูคำแนะนำการทดลองมาด้วยย มันมีประโยชน์ในตอนทำ quiz pretest กับตอนทำแล็บจริงๆ และทำได้ไวมากขึ้นด้วย
2. คิดเลขหรือคำนวณอะไรก็ตาม คำนึงถึงเลขนัยสำคัญเสมอ
3. ไม่ชัวร์หรือสงสัยอะไร ถามพี่ TA หรืออาจารย์ได้เลย เพื่อความสะดวกในการทำแล็บ และความปลอดภัยด้วย
🆎 Experimental English II (Exp Eng II)
ความยาก : 9.5/10
วิชาที่ต้องผ่านมาก่อน : EXP ENG I
การตัดเกณฑ์ : อิงเกณฑ์
การเก็บคะแนน :
รีวิววิชาเรียน
"เธอ (วิชานี้) นี่ตัวตึงตลอดเลยนาา..." เอาจริงๆ คือเทอมที่แล้วมีลักษณะเป็นยังไง เทอมนี้ก็ไม่ต่างกันเลยฮะ ไม่เซฟโซนสำหรับคนที่ไม่ค่อยถนัดวิชาภาษาอังกฤษ เช่นเดิม....
แค่มีการปรับเปลี่ยนสัดส่วนคะแนนใหม่ โดยจะเพิ่ม "Prewriting" เป็นการสอบเขียนก่อนจะสอบ writing จริงๆ สำหรับเซคเรา อ.จะให้ทำเป็นคู่ปรึกษากันได้ด้วย ซึ่งเรามองว่าเป็นคะแนนช่วยสำหรับเรานะ เพราะเกณฑ์การให้คะแนนจะให้ง่ายกว่า writing เดี่ยวจริงๆ
ข้อสอบทั้ง 2 ครั้งจะเเบ่งเป็น 2 ส่วน คือ Reading (เอาบทความมาให้เราอ่าน อารมณ์เหมือนข้อสอบ GAT วิชาสามัญเลย) และ Writing ส่วนละ 15 คะแนน (แต่จะเอาไปแปลงเป็น 25 คะแนนดิบภายหลัง) ซึ่ง writing จะ relate กับเนื้อหาที่เราเรียน ณ ตอนนั้น และก็มี prompt ให้เราเลือกเอา 1 ใน 2 จากที่คำสั่งให้มา ใครที่มีแต้มบุญภาษามาดี ก็จะช่วยได้เยอะเลย
📐 ENGINEERING DRAWING (ENG DRAWING)
ความยาก : 9/10 (สำหรับคนมองภาพไม่ค่อยออกแบบเรา)
วิชาที่ต้องผ่านมาก่อน : -
การตัดเกณฑ์ : อิงกลุ่ม
การเก็บคะแนน :
ที่มา : Course Syllabus ของรายวิชา |
เนื้อหาที่เรียน
+ Midterm
1. Freehand Sketch
2. Orthographic
3. Auxilary View
4. Isometric & Obligue
5. Fusion360 (Part 1)
+ Final
6. Dimensioning
7. Section View
8. Convention
9. Fusion360 (Part 2)
10. Assembly
11. Fusion360 (Part 3)
รีวิววิชาเรียน
มาถึงวิชาคณะตัวเองซักที 5555+ (เอาจริงๆ นะ เทอมนี้แทบจะเป็นนิสิตคณะวิทยา ที่เรียน Drawing เป็นวิชาเลือกซะงั้นอ่ะ 555+) โดยรวมแล้ววิชานี้เหมือนกับ COM PROG เทอมที่แล้วที่ว่า.... "ใครที่ถนัดวิชานี้ คือไปเลยย สบายมากก" แต่ถ้าใครไม่ถนัด (เช่น เรา) อาจไม่ชอบวิชานี้ในหลายๆ ความหมาย ในพยายามปิดกั้นกับสิ่งที่เจอ (แต่เอาจริงๆ อยากให้หลายๆ คนเปิดใจวิชานี้นะ อาจารย์ที่สอนก็บอกขอให้ลองเปิดใจดู)
ในส่วนของ Midterm จะเป็นการเรียนที่เน้นการมองภาพเป็นหลัก เช่น Orthographic คือการที่เรามีภาพใหญ่มา 1 รูปแล้วให้เราวาดภาพผ่านมุมมองที่เราเห็น ด้านหน้า ด้านข้าง ด้านบน แล้วก็ Isometric ที่เราจะทำย้อนกลับกับ ortho (อ่านดู อาจมองไม่เห็นภาพ) ยกตัวอย่างเลยแล้วกันน
![]() |
Orthographic |
![]() |
Isometric |
![]() |
คะแนนสอบ Midterm ฮะ เต็ม 60 แต่จะเเปลงเป็นคะแนนเก็บ 40 |
ข้อสอบทั้ง 2 รอบ Midterm และ Final จะมีทั้งหมด 6 ข้อฮะ
5 ข้อคือวาดรูป ส่วนอีกข้อจะเป็นข้อตัวเลือกเกี่ยวกับการมองภาพ
คิดเป็น 40% 2 ครั้งก็ 80%
ในส่วนของ Final จะเป็นการวาดรูปเหมือนกันแหล่ะ... 5555+ แต่จะมีหลักการหรือข้อตกลงที่เยอะกว่า midterm กว่ามากกก เช่น Dimensioning (การบอกขนาดภาพ หรือองค์ประกอบ) เป็นต้น หรือการผ่า model เพื่อให้เห็นเนื้อในของอะไรบางอย่าง อย่างการมอง Section View หรือแบบที่เอาชิ้นส่วนมากประกอบร่างอย่าง Assembly งี้ก็มีนะ!
![]() |
section view คับบ |
![]() |
Assembly |
ความเห็นส่วนตัว
สำหรับเทอมนี้เราไม่ชอบวิชานี้เลยย (และ EXP ENG II) ด้วยอะไรหลายๆ อย่าง ทำให้เราอคติวิชานี้มากๆ T-T ซึ่งส่งผลให้เราไม่อยากเรียนวิชานี้ ชนิดที่ว่า ไม่ F ก็พอใจแล้ว ;-;
(อย่างที่เราบอกฮะ อย่าอคติกับมันก่อน ลองเปิดใจดูเผื่อจะชอบ //แต่เราไม่แล้ว 1 😶)
คำแนะนำ
1. ฝึกทำโจทย์จากแบบฝึกหัดในหนังสือเยอะๆ
2. เนื่องด้วยเป็นวิชาที่เฉลยไม่มีแบบฝึกหัด แนะนำให้แชร์ภาพที่ได้กับเพื่อน
3. เวลาวาดภาพฝึก Free hand sketch (วาดด้วยมือเปล่าๆ ไม่ใช้เครื่องมือ) ด้วย และพยายามทำให้รูปภาพสะอาด อย่าดำเยอะ
💬💬 ปิดท้าย 💬💬
ก็จบไปแล้วฮะ สำหรับการรีวิวแต่ละวิชาเรียนสำหรับวิศวะ จุฬา ปี 1 ในเทอมนี้ และก็เป็นเทอม 2 ที่เป็นเทอมสุดท้ายของปี 1 แล้ววว (เย้!!) หวังว่าทุกๆ คนจะชอบและสนใจกันฮะ 📔
สำหรับคนที่อยากเข้าที่นี่ ก็อยากบอกไว้เช่นเดิมฮะว่า "พูดมาไม่ได้จะขู่ หรืออะไรแต่อย่างไรนะ... " แต่อยากให้รับรู้ และเข้าใจภาพรวมของการเรียนของที่นี่ให้มากขึ้น ก่อนที่จะตัดสินใจเข้ามาเรียนเด้อ แล้วเกณฑ์หรือการเรียนการสอนในแต่ละปี ก็อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสมเสมอเลย
ถ้าเรามีข้อมูลใดๆ ผิดพลาด หรือมีความสนใจสำหรับวิชาไหนเป็นพิเศษก็สามารถทักมาทาง ig เราได้เลยยย ยินดีตอบฮะ
ขอบคุณมากๆฮะ
shota.diary
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น